วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การใช้ A, AN, THE

A ใช้นำหน้าคำที่ออกเสียงพยัญชนะ ที่มีความหมายเป็นหนึ่งโดยทั่วไป เช่น

a book

This is a book.
นี้คือหนังสือเล่มหนึ่ง

a boy
He is a boy.
เขาเป็นเด็กชายคนหนึ่ง

a cat
That is a cat

นั้นคือแมวหนึ่งตัว


An ใช้นำหน้าคำที่ออกเสียงสระ ออ ที่มีความหมายเป็นหนึ่งโดยทั่วไป เช่น

an egg
This is an egg.
นี้คือไข่หนึ่งฟอง

an ant
That is an ant.
นั้นคือมดหนึ่งตัว

an umbrella
This is an umbrella.
นี้คือร่มหนึ่งคัน


The
ใช้นำหน้าคำที่ชี้เฉพาะ ทั้งออกเสียงพยัญชนะหรือสระทั้งสิ่งเดียวหรือหลายสิ่งแต่ถ้าอยู่หน้าคำที่ออกเสียงสระให้อ่านว่า ดิ โดยทั่วไปอ่านว่า เดอะ เช่น

The book is on the table. (เดอะ)
หนังสือนั้นอยู่้บนโต๊ะ

The books are on the table. (เดอะ)
หนังสือหลายเล่มนั้นอยู่บนโต๊ะ

The egg is in the basket. (ดิ)
ไข่ฟองนั้นอยู่ในตระกร้า

The eggs are in the basket. (ดิ)
ไข่หลายฟองนั้นอยู่ในตระกร้า



การทำคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์

นามนับได้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด


  1. นามเอกพจน์ (Singular)

  2. นามพหูพจน์ (Plural)

มีหลักการทำนามเอกพจน์เป็นพหูพจน์ดังนี้


1. โดยทั่วไปเติม s ได้เลย เช่น

hand - hands = มือ

girl - girls = เด็กผู้หญิง

cup - cups = ถ้วย

thing - things = สิ่งของ

house - houses = บ้าน

chair - chairs = เก้าอี้

bird - birds = นก

dog - dogs = สุนัข

cat - cats = แมว


2. ถ้าคำนามนั้นลงท้ายด้วย o, s, sh, ch, x, z ให้เติม es เช่น

mango - mangoes = มะม่วง

box - boxes = กล่อง

match - matches = ไม้ขีดไฟ

brush - brushes = แปรง

glass - glasses = แก้ว(แว่นตา)

topaz - topazes = บุษราคัม


3. ถ้าคำนามลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น

copy - copies = สำเนา

fly - flies = แมลงวัน

country - countries = ประเทศ

lady - ladies = สุภาพสตรี

baby - babies = เด็กทารก

city - cities = เมือง


4. คำที่ลงท้ายด้วย y หน้า y เป็น สระ (a e i o u) ให้เติม s ได้เลย เช่น

key - keys = ลูกกุญแจ

boy - boys = เด็กผู้ชาย

day - days = วัน

play - plays = ละคร

donkey - donkeys = ลา(สัตว์)

toy - toys = ของเล่น


5. คำที่ลงท้ายด้วย f, fe ให้เปลี่ยน f, fe เป็น v แล้วเติม es เช่น

knife - knives = มีด

thief - thieves = ขโมย

wife - wives = ภรรยา

half - halves = ครึ่ง

leaf - leaves = ใบไม้

life - lives = ชีวิต


* ข้อยกเว้น ถึงแม้จะลงท้ายด้วย f หรือ fe ให้เติม s ได้เลย เช่น

roof - roofs = หลังคา

safe - safes = ตู้นิรภัย

chief - chiefs = หัวหน้า

handkerchief - handkerchiefs = ผ้าเช็ดหน้า


6. นามบางคำทำเป็นพหูพจน์ได้โดยการเปลี่ยน สระภายใน เช่น

foot - feet = เท้า

tooth - teeth = ฟัน

ox - oxen = วัว

man - men = ผู้ชาย

child - children = เด็ก, ลูก

woman - women = ผู้หญิง

mouse - mice = หนู

goose - geese = ห่าน

louse - lice = เหา


ข้อสังเกต คำว่า "staff" แปลว่า คณะทำงาน ถ้าใช้เป็นพหูพจน์ไม่นิยมเติม s แต่คนส่วยใหญ่มักเข้าใจผิดและเติม s เสมอ การเติม s ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะเจ้าของภาษาจะไม่เติม s เลย นักเรียนควรจำไว้ด้วย

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คำนาม (นับได้ - นับไม่ได้)

คำนาม (Nouns) คือ อะไรก็ได้ที่เรากล่าวถึง เช่น
กล่าวถึงคน : boy - เด็กผู้ชาย / man - ผู้ชาย / girl - เด็กผู้หญิง
กล่าวถึงสัตว์ : dog - สุนัข / cat - แมว / bird - นก / hen - แม่ไก่ / fish - ปลา
กล่าวถึงสิ่งของ : book - หนังสือ / pen - ปากกา / car - รถยนต์ / ring - แหวน
กล่าวถึงสถานที่ : house - บ้าน / school - โรงเรียน / hotel - โรงแรม
อื่นๆ : air - อากาศ / water - น้ำ / job - งาน / money - เงิน / sugar - น้ำตาล


นามมี 2 ชนิด

  1. นามนับได้ (Countable Noun) ได้แก่ ชื่อที่สมมุติเรียกสิ่งต่างๆ ทั่วไป เช่น เรียกคนสอนหนังสือว่า teacher = ครู เรียกคนที่เรียนว่า student = นักเรียน
  2. นามนับไม่ได้ (Uncountable Noun) ได้แก่ ชื่อที่สมมุติเรียกคุณสมบัติต่างๆ เช่น เรียกเม็ดเล็กๆ รสหวานว่า sugar = น้ำตาล เรียกของเหลวทั่วไปว่า water = น้ำ

ข้อสังเกตระหว่างนามนับได้และนามนับไม่ได้

นามนับได้ เช่น คน สัตว์ ประกอบด้วย เลือด เนื้อ กระดูก ผม และอื่นๆ หนังสือ ประกอบด้วยกระดาษซึ่งมีตัวหนังสือเป็นน้ำหมึกรวมกันเป็นเล่ม
นามนับไม่ได้ เช่น น้ำ, น้ำหมึก, น้ำตาล, น้ำมัน, เลือด แต่ละอย่างมีคุณสมบัติเฉพาะ เงิน, กระดาษ, เส้นผม, กาแฟ, โอวัลติน, นม, เนย, เนี้อ, เกลือ ก็เช่นกัน


ให้สังเกตข้อเปรียบเทียบต่อไปนี้

ข้อสังเกต ถ้าเราดึงส่วนหนึ่งของนามนั้นออกมาแล้ว ยังสามารถเรียกเช่นเดิมได้ จัดเป็นนามนับไม่ได้ แต่ถ้าเรียกเช่นเดิมไม่ได้ เช่น ฉีกกระดาษออกจากหนังสือ ไม่ถือว่าเศษกระดาษเป็นหนังสือ แต่เมื่อฉีกกระดาษ กระดาษแผ่นเดิมก็ยังเป็นกระดาษ เศษกระดาษก็ยังเป็นกระดาษ กระดาษจึงเป็นนามนับไม่ได้